HELP

ด้วยข้าพเจ้า รองศาสตราจารย์ ดร.เชิดวงศ์ แสงศุภวานิช คณะพาณิชยนาวีนานาชาติ มหาวิทยาลัยเกษตร ศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา ซึ่งจบการศึกษาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา Master of Engineering Science in Coastal Engineering and Management และ Doctor of Engineering (Integrated Tropical Coastal Zone Management) ได้ปฏิบัติงานทั้งในด้านการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และการออกแบบโครงสร้างป้องกันคลื่น รวมการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านสมุทรศาสตร์และสัณฐานชายฝั่ง ให้กับภาครัฐและเอกชนมามากกว่า 100 โครงการ ทำให้มีความรู้ที่สามารถนำมาแต่งตำราด้านวิศวกรรมชายฝั่งตั้งแต่ทฤษฎีพื้นฐานจนถึงการนำไปประยุกต์ใช้

ปัจจุบันประเทศไทยต้องการวิศวกรชายฝั่งจำนวนมากเพื่อพัฒนาประเทศโดยเฉพาะการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกและภาคใต้ ไม่ว่าจะเป็นการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง การออกแบบเขื่อนกันคลื่นเพื่อท่าเรือและพื้นที่ถมทะเล การประเมินความรุนแรงของคลื่นที่ปะทะกับโครงสร้างในทะเล หรือแม้แต่การจัดทำแบบจำลองคณิตศาสตร์ด้านวิศวกรรมชายฝั่งเพื่อประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม แต่ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีตำราด้านวิศวกรรมชายฝั่งที่มีเนื้อหาที่ครอบคลุมตั้งแต่ทฤษฎีเบื้องต้นจนถึงการนำไปประยุกต์ใช้เลยแม้แต่เล่มเดียว ข้าพเจ้าจึงได้ทุ่มเทแรงกายแรงใจแต่งตำราเรื่อง “วิศวกรรมชายฝั่งกับการนำไปใช้” ขึ้นมา เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านวิศวกรรมชายฝั่งได้นำไปใช้ในการพัฒนาประเทศ

 

วิศวกรรมชายฝั่งถือเป็นสาขาหนึ่งของวิศวกรรมที่กำเนิดขึ้นมาหลายร้อยปี มีความสำคัญอย่างมากต่ออการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่อยู่บริเวณชายฝั่ง ขอบเขตการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมชายฝั่งนั้นมีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบท่าเรือขนาดใหญ่ ท่าเทียบเรือหรือองค์ประกอบต่างๆ ในท่าเทียบเรือ เขื่อนกันคลื่นนอกฝั่ง (Offshore breakwater) รอดักทราย (Groin) เขื่อนกันคลื่นบนฝั่ง (Revetment) การออกแบบและขุดลอกร่องน้ำเพื่อการเดินเรือ การถมทะเล (Reclamation) การเติมทรายชายหาด (Beach nourishment) การแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งเป็นต้น นอกจากนี้ในปัจจุบัน ศาสตร์ด้านวิศวกรรมชายฝั่งยังได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้กับการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม เช่นการประเมินผลกระทบการกัดเซาะชายฝั่งข้างเคียงเนื่องจากการพัฒนาโครงการต่างๆ การประเมินทิศทางและความเร็วของกระแสน้ำที่เปลี่ยนแปลงไปจากการก่อสร้างพัฒนาโครงการต่างๆ การประเมินอัตราการตกตะกอน การประเมินการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำเป็นต้น จึงเห็นได้ว่าศาสตร์ด้านวิศวกรรมชายฝั่งมีความสำคัญอย่างมากในการพัฒนาประเทศไม่แพ้ศาสตร์วิศวกรรมสาขาอื่นๆ

เนื้อหาของตำราในบทนี้ แบ่งเป็น 9 บท โดยเริ่มตั้งแต่การปูทฤษฎีพื้นฐานเกี่ยวกับกระบวนการชายฝั่ง ทฤษฎีคลื่น การคาดการณ์ความสูงคลื่นในเหตุการณ์รุนแรง การคาดการณ์ระดับน้ำ และการนำทฤษฎีพื้นฐานทั้งหมดไปใช้ ไม่ว่าจะเป็นการจัดทำแบบจำลองคณิตศาสตร์การไหลเวียนของกระแสน้ำ หรือในการออกแบบโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง 


บทที่ 1: ประวัติความเป็นมาและบทบาทของวิศวกรรมชายฝั่ง

บทที่ 2: เขตชายฝั่งและตะกอน

บทที่ 3: ทฤษฎีคลื่น

บทที่ 4: กระบวนการคลื่น

บทที่ 5: สถิติคลื่นระยะสั้นและสเปกตรัมคลื่น

บทที่ 6: การวิเคราะห์คลื่นย้อนหลังและสถิติคลื่นระยะยาว

บทที่ 7: ระดับน้ำและการจำลองการไหลเวียนของกระแสน้ำ

บทที่ 8: การเปลี่ยนแปลงชายฝั่งและโครงสร้างป้องกันชายฝั่ง

บทที่ 9: การออกแบบเขื่อนกันคลื่น


ขออภัยด้วยครับ  เมื่อก่อนว่าจะอัปโหลดให้อ่านฟรี  แต่ตอนนี้ ตำราผมได้รับการตีพิมพ์โดย วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.) แล้ว  และผมได้มอบลิขสิทธิ์ให้ วสท. ไปแล้ว  


 

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้